ไปเที่ยวย้อนยุคกันเถอะ: สถานีโตเกียว และ 17 สถานีอิงประวัติศาสตร์ในญี่ปุ่น
เส้นทางรถไฟเป็นส่วนประกอบทางสังคมอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นมามากกว่า 100 ปี ด้วยการขยายเครือข่ายของเส้นทางรถไฟจึงได้เกิดสถานีรถไฟรายทางขึ้นมาเพื่อให้ความสะดวกสบายผู้คนที่เดินทางไปมาทั่วญี่ปุ่น การจราจรโดยรวมที่มีความคล่องตัวมากขึ้นทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง
ตามความจริงแล้วสถานีรถไฟจำนวนหนึ่งในญี่ปุ่นถูกกำหนดให้เป็น “สมบัติทางวัฒนธรรม” (文化財 bunka-zai), ซึ่งจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากทางหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของรัฐบาลญี่ปุ่นในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น โดยที่สมบัติทางวัฒนธรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ ยกตัวอย่างเช่น งานศิลปะ งานฝีมือ และบางส่วนเป็นงานที่จับต้องไม่ได้ เช่น ศิลปะการแสดง เทคนิคงานฝีมือ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและอนุสาวรีย์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และแน่นอนยังนับรวมไปถึงอาคารต่างๆ อย่างเช่น สถานีรถไฟด้วย
แผนที่แสดงสถานีรถไฟย้อนยุคในญี่ปุ่น. (เครดิตรูปภาพ: Google Maps)
ทางรถไฟก็เปรียบเหมือนประตูไปสู่เมืองต่างๆ และสำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้วเราสามารถเรียกได้ว่าสถานีรถไฟคือ “หน้าตา” ของเมืองได้เลย และท่ามกลางสถานีรถไฟที่มีอยู่มากมายมีสถานีรถไฟเพียงหยิบมือเท่านั้นที่มีประวัติศาตร์มายาวนานควบคู่กับคุณค่าทางวัฒนธรรมไม่สามารถประเมินค่าได้ ในบทความนี้ฉันต้องการแนะนำให้คูณรู้จักกับสถานีรถไฟที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงถึงประเทศญี่ปุ่น เอาจริงๆนะ ฉันหวังว่าครั้งหน้าที่คุณเดินทางมาที่ญี่ปุ่นอยากให้ลองไปเยี่ยมชมสถานีรถไฟเหล่านี้ดู!
สถานีโตเกียว - Tokyo Station (東京駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (重要文化財)
สถานีโตเกียวในช่วงกลางวันและกลางคืน (เครดิตรูปภาพ: JR-EAST HOTELS)
หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้รู้จักกับการเดินทางด้วยรถไฟในปี 1872 รางรถไฟรวมไปถึงสถานีรถไฟต่างๆก็เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี 1889 เกิดการเจรจาเพื่อทำการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างสายโทไกโด (東海道本線 Tōkaidō-honsen) ซึ่งมีต้นทางอยู่ที่สถานีชิมบาชิ (新橋駅 Shinbashi-eki) และเส้นทาง Nippon Railway (ปัจจุบันคือสายโทโฮคุ Tōhoku Main Line) ที่มีต้นทางอยู่ที่สถานีอุเอโนะ โดยทำการเชื่อมต่อผ่านทางรถไฟยกระดับ ส่งผลให้เกิดการก่อสร้างเป็นสถานีรถไฟโตเกียวขึ้นมาในปี 1908
สถานีโตเกียวเปิดให้บริการหลังจากนั้น 6 ปี ในวันที่ 20 ธันวาคม 1914 ในช่วงเวลานั้นมีเพียง 4 ชานชาลา และประตูเข้า-ออกมีแค่จากฝั่งมารุโนะอุจิ Marunouchi (丸の内) ซึ่งเป็นทางฝั่งตะวันออกที่มุ่งหน้าไปทางพระราชวังโตเกียวเท่านั้น ส่วนประตูทางออก Yaesu ด้านตะวันออกของสถานีถูกก่อสร้างแล้วเสร็จในอีก 15 ต่อมา (ปี 1929)
อาคารอิฐสีแดงอันโด่ดเด่นของสถานีโตเกียว. (เครดิตรูปภาพ: JR East)
ตัวอาคารอิฐสีแดงเดิมได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ได้รับการบูรณะอย่างรวดเร็วถึงแม้ว่าจะเป็นการซ่อมแซมเฉพาะบางส่วนก็ตาม โดยตัวอาคารเดิมเป็นอาคาร 3 ชั้นประกอบกับอาคารทรงโดมด้านเหนือและใต้ แต่ในช่วงหลังสงครามอาคารชั้นที่ 3 ได้ถูกเอาออกและอาคารโดมก็ถูกทำลายไป
สถานีโตเกียวก่อนถูกปรับปรุง (รูปบน), และหลังจากได้รับการปรับปรุง (รูปล่าง). (เครดิตรูปภาพ: The Railway Museum/JR East)
หลังจากการปรับเปลี่ยนจาก Japan National Railways (JNR) กลายเป็น Japan Railways Group (JR Group) ในปี 1987 ได้เกิดการเรียกร้องให้ทำการฟื้นฟูอาคารอิฐสีแดงของสถานีโตเกียวให้เสร็จสมบูรณ์ โดยในที่สุดแล้วการเรียกร้องครั้งนี้นำไปสู่การกำหนดให้กลายเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (重要文化財 Jūyō-bunkazai) ในปี 2003 และต่อมาในปี 2007 มีการประกาศสำคัญเรื่องตัวสถานีจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 5 ปี
อาคารอิฐสีแดงดั้งเดิมของสถานีโตเกียวเมื่อสร้างเสร็จในปี 1914. (เครดิตรูปภาพ: The Railway Museum)
การตกแต่งภายในของสถานีโตเกียวเมื่อสร้างเสร็จในปี 1914. (เครดิตรูปภาพ: JR East)
กระบวนการฟูื้นฟูและบำรุงรักษาเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2007 และมีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การฟื้นฟูอาคารอิฐสีแดงให้สมบูรณ์เหมือนเก่าในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆเข้าไป โดยรวมไปถึงการสร้างอาคารชั้น 3 เข้าไปใหม่ การบูรณะอาคารทรงโดมทางด้านเหนือและใต้ (ลองสังเกตุดูจะเห็นว่ารูปทรงของอาคารโดยระหว่างก่อนและหลังการซ่อมแซมนั้นจะมีความแตกต่างกันอยู่ โดยอาคารก่อนจะได้รับการบูรณะจะเป็นโดมรูปทรงเหลี่ยม แต่หลังจากการซ่อมแซมแล้วจะเป็นโดมทรงครึ่งวงกลม ) มีการก่อสร้างที่จอดรถเพิ่มเข้าไป รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างแบบแยกความสะเทือนเข้าไปใหม่เพื่อให้ทนต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นเดินไหวและส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ
การตกแต่งภายในของอาคารทรงโดมของสถานีโตเกียวในปัจจุบัน. (เครดิตรูปภาพ: JR Times/Sue Lynn)
หลังจากผ่านไป 5 ปี และด้วยงบประมาณกว่าห้าหมื่นล้านเยน การบูรณะสถานีโตเกียวก็ได้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2012 ลักษณะภายนอกของอาคารอิฐสีแดงอันโด่ดเด่นของสถานีโตเกียวได้ถูกนำกลับมาได้ดังเดิม และตอนนี้ก็กลายเป็นที่ตั้งของโรงแรม Tokyo Station Hotel ซึ่งเป็นโรงแรมหรูระดับแนวหน้าของเครือ JR EAST
โรงแรม Tokyo Station Hotel มีความหรูหราและมีการบริการเป็นอย่างดี และที่ไม่เหมือนกับโรงแรมหรูหราของที่อื่นคือ ที่นี้จะมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟโตเกียวได้โดยตรง ทำใหการเดินทางด้วยรถไฟไปยังที่อื่นๆเป็นเรื่องง่าย ตัวโรงแรมเปิดให้บริการในปี1915 หลังจากการเปิดใช้งานของสถานีรถไฟโตเกียวเพียงปีเดียว และยังได้การเฉลิมฉลองครบรอบ 10 0ปี ไปในปี 2015
จนถึงวันนี้โรงแรม Tokyo Station Hotel ยังเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นและทั่วโลกโดยได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมายในหลายปีที่ผ่านมา และยังได้ทำการต้อนรับบุคคลที่มีชื่อเสียงรวมไปถึงบุคคลสำคัญมามากมาย
เพื่อนร่วมงานของฉัน Sue Lynn ก็เคยได้รับเกียรติให้เข้าพักที่โรงแรมนี้และเธอก็ได้เขียนประสบการณ์ที่เธอได้มาพักที่นี้ไว้ด้วย เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ประตูทางเข้าและโซนต้อนรับของโรงแรม Tokyo Station Hotel' . (เครดิตรูปภาพ: JR-EAST HOTELS)
นอกจากสถานีรถไฟโตเกียวแล้วยังมีสถานีรถไฟอีกไม่กี่แห่งที่ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรม สถานีต่อไปที่เราจะพูดถึงตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น แม้ปัจจุบันจะไม่ได้ถูกใช้งานเป็นสถานีรถไฟแล้วแต่ก็ยังเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์
อดีต สถานีไทฉะ - Former Taisha Station (旧大社駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (重要文化財)
สถานีคิวไทฉะ. (เครดิตรูปภาพ: photoAC)
ที่เมืองไทฉะ (大社町 Taisha-machi) จังหวัดชิมาเนะ (島根県 Shimane-ken) มีสถาปัตยกรรมที่หรูหราตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของเมืองที่เงียบสงบ นั่นก็คืออาคารสถานีไทฉะนั่นเอง ตัวอาคารขนาดใหญ่ถูกใช้เป็นสถานีรถไฟสายไทฉะ (大社線 Taisha-sen) สายที่เมื่อก่อนดำเนินงานโดย JR West ถูกเปิดใช้งานเมื่อปี 1912 แต่ว่าหยุดให้บริการอย่างถาวรไปในปี 1990 และนำไปสู่การปิดตัวของสถานีไปในที่สุด
อาคารไม้ถูกสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับตัวศาลเจ้าอิสึโมไทฉะ Izumo Taisha (出雲大社) หนึ่งในศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิมาเนะเหมือนกัน ตัวอาคารได้ถูกเก็บรักษาไว้หลังจากที่รถไฟได้หยุดให้บริการและได้รับการยกให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ในปี 2004
ตัวอาคารอยู่ห่างจากสถานีรถไฟหน้าศาลเจ้าอิสึโมะไทฉะ (出雲大社前駅 Izumotaisha-mae-eki) ที่ปัจจุบันใช้เป็นสถานีรถไฟของบริเวณนี้ อาคารสถานีคิวไทฉะแสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ โดยที่นักท่องเที่ยวจะรู้สึกราวกับว่าได้ย้อนเวลากลับไปทันทีที่ได้ก้าวเข้าไปภายใน
ที่ต่อไป เราจะไปต่อกันทางด้านทิศใต้ของญี่ปุ่นซึ่งมีสถานีรถไฟอันสวยงามและมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากที่นี้อย่างสิ้นเชิง
สถานีโมจิโกะ - Mojiko Station (門司港駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (重要文化財)
สถานีโมจิโกะ. (เครดิตรูปภาพ: JR Kyushu)
สถานีโมจิโกะตั้งอยู่ที่เมืองคิตะคิวชู Kitakyushu (北九州) จังหวัดฟูกุโอกะ (福岡県 Fukuoka-ken) ในภุมิภาคคิวชู Kyushu (九州) ภูมิภาคนี้มีชื่อเสียงและน่าประทับใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมตะวันตกอันเนื่องมากจากเศษของอิทธิพลทางตะวันตกที่หลงเหลืออยู่และที่สถานีรถไฟแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญแห่งหนึ่ง
สถานีโมจิโกะ ดำเนินการโดย JR Kyushu ในเส้นทางสายคาโกชิมะ (鹿児島本線 Kagoshima-honsen) เปิดใช้งานในปี 1981 และใช้เป็นสถานีทางผ่านสำหรับผู้ที่ต้องการจะเปลี่ยนสายรถไฟระหว่างสายฮอนชู(本州) และสายคิวชู ย้อนไปในช่วงเวลานั้นผู้โดยสารที่เดินทางไป-มาระหว่างเกาะหลักด้วยเรือโดยผ่านทางช่องแคบคัมมง (関門海峡 Kanmon-kaikyō) ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นอุโมงค์คัมมงในเวลาต่อมา ตัวอาคารสถานีในปัจจุบันสร้างเสร็จในปี 1914 ก่อนที่จะถูกย้ายที่ตั้งไปจุดที่อยู่ ณ ปัจจุบันนี้ แล้วต่อมาในปี 1988 ก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้
การตกแต่งภายในสถานีโมจิโกะ. (Image credit: JR Kyushu)
อาคารย้อนยุคที่ออกแบบตามสถาปัตยกรรมนีโอ-เรเนซองส์ ถูกใช้งานเป็นอาคารของสถานีรถไฟมากว่า1ทศวรรษ และในปี 2012 ก็ถูกประกาศให้อยู่ภายในโครงการปรับปรุงครั้งสำคัญที่ใช้ระยะเวลายาวถึง 7 ปี และได้รับการตกแต่งใหม่อย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2019
นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟที่มีจุดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์และอาคารย้อนยุคที่มีคุณค่าทาง ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ตามข้อมูลเพิ่มเติมข้างล่างนี้
(หมายเหตุ: สถานีรถไฟที่จะนำเสนอนี้จัดเรียงตามภูมิภาคของ JR จากเหนือลงมาใต้)
① JR Hokkaido (JR北海道) area
สถานีโอตารุ Otaru Station (小樽駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีโอตารุที่ฮอกไกโด. (เครดิตรูปภาพ: Hokkaido Railway Company)
โอตารุเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มายังฮอกไกโดและนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางมาที่นี่ผ่านทางสถานีโอตารุ สถานีรถไฟแห่งนี้เปิดบริการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1930 และตัวอาคารที่ตั้งอยู่มาจนทุกวันนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1934
กระดิ่งส่งสัญญาน ที่เคยใช้งานในสถานี (เครดิตรูปภาพ: Hokkaido Railway Company)
ตัวอาคารนี้นับเป็นอาคารที่ไม่เหมือนใครนับมาตั้งแต่สมัยต้นๆโชวะ (昭和時代 Shōwa-jidai, 1926-1989) เริ่มมาตั้งแต่ตัวอาคารสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หน้าต่างที่ทำด้วยกระจกคิตาอิจิ(แก้วชนิดพิเศษของโอตารุ) สถานีรถไฟแห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財 tōroku-yūkei-bunkazai) ในปี 2006
อดีต สถานีมูโรรัน Former Muroran Station (旧室蘭駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีมูโรรันที่ฮอกไกโด. (เครดิตรูปภาพ: Hokkaido Railway Company)
สถานีมูโรรันในฮอกไกโดเป็นสถานีที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เปิดใช้งานครั้งแรกในช่วงต้นปี 1912 และตัวอาคาร(ตามรูปด้านบน) ใช้งานเป็นสถานีรถไฟมามากกว่า100ปี ในปี1997สถานีมูโรรันได้ถูกย้ายไปเข้าไปยังอาคาร 4 ชั้น ที่ทางทิศใต้ที่ห่างออกไปประมาณ600เมตร โดยที่ตึกหลังเก่านี้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียนในปี 1999 และตั้งแต่นั้นมาที่นี่ก็ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวมูโรรัน Muroran Sightseeing Information Center.
② พื้นที่ JR East (JR東日本)
สถานีฮาราจุกุ Harajuku Station (原宿駅)
สถานีฮาราจุกุอาคารเก่า. (เครดิตรูปภาพ: JR East)
หากพูดถึงฮาราจุกุ(原宿)แล้วคนจำนวนมากจะนึกถึงย่านที่มีชื่อเสียงในเรื่องStreet-fashion และ ถนนสายหลักที่ครึกครื้นของถนนทาเคชิตะ (竹下通り Takeshita-dōri) แต่ถ้าเราจะมายังถนนวุ่นวายแห่งนี้นั้น เราต้องมาลงรถไฟที่สถานีฮาราจุกุ(原宿駅 Harajuku-eki) ซึ่งมีแค่สถานีรถไฟของ JR เท่านั้นที่ให้บริการในละแวกนี้
นักท่องเที่ยวที่ผ่านมายังสถานีรถไฟฮาราจุกุน่าจะจดจำสถานีได้จากลักษณะเด่นของสถานีที่เป็นอาคารไม้ ตัวสถานีถูกสร้างขึ้นในปี1924 เป็นอาคาร 2 ชั้นที่มีหลังคาทรงแหลมและนำเสนอในรูปแบบสถาปัตยกรรมงานครึ่งไม้แบบอังกฤษ เป็นอาคารที่โดดเด่นของย่านนี้และอาคารนี้ก็ถูกใช้งานเป็นสถานีรถไฟมาเกือบยาวนานกว่า 100 ปี
ในปี 2016 มีการประกาศให้สถานีฮาราจุกุอยู่ในงานปรับปรุงหลักเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเกิดขึ้นใน 4 ปีต่อมา โดยจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับการรื้ออาคารไม้เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดและเพิ่มมาตรฐานสำหรับงานป้องกันอัคคีภัย และสถานีรถไฟฮาราจุกุใหม่ได้เปิดใช้งานในวันที่ 21 มีนาคม 2020 ซึ่งทันเวลาในการจัดงานโอลิมปิคซึ่งมีกำหนดเดิมในเดือนสิงหาคม และตัวสถานีมีการเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆเพิ่มเข้าไปเช่น ห้องน้ำ บันไดเลื่อน และ ช่องตรวจตั๋ว
ในวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา JR EAST ประกาศจะสร้างแบบจำลองของอาคารสถานีเก่าขึ้นมาโดยให้อยู่ติดกับสถานีปัจจุบัน โดยจะนำวัสดุที่รื้อไว้จากสถานีเก่ามาทำใหม่ให้มีความใกล้เคียงกับสถานีตัวเก่าให้ได้มากที่สุด ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเห็นภาพที่แตกต่างกันระหว่างรูปแบบของสถานีตัวเก่าและใหม่ได้
เกร็ดน่ารู้ : ที่สถานีมีชานชาลาส่วนตัวที่สร้างขึ้นในปี 1925 สำหรับใช้งานโดยสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งจะอยู่ทางด้านทิศเหนือของชานชาลาหลัก ถึงแม้ว่าชายชาลาส่วนตัวนี้จะไม่ได้ถูกใช้งานมานานแล้วแต่ก็ยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้
สถานีนิกโก้ Nikkō Station (日光駅)
สถานีนิกโก้. (Image credit: JR East)
นิกโก้ เป็นหนึ่งในสถานที่ทางวัฒนธรรมและศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในเกาะฮอนชู นักท่องเที่ยวโดยทั่วไปสามารถมายังเมืองนี้ได้โดยผ่านทางสถานีรถไฟ นิกโก้ ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 1890 ในรูปแบบสถานีเอกชนและปรับเปลี่ยนมาเป็นสถานีรถไฟของรัฐบาลในปี 1909 ตัวอาคาร 2 ชั้น (ตามรูปด้านบน) สร้างแล้วเสร็จในปี 1912 ออกแบบในสถาปัตยกรรมแบบนีโอ-เรเนซองส์และงานครึ่งไม้ใน แบบตะวันตก และได้ผ่านการซ่อมแซมมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2009 ในส่วนหนึ่งของงานครบรอบ 120 ปี และครั้งที่สองในช่วงเดือนพฤษภาคม 2016 ถึง มีนาคม 2017
③ พื้นที่ JR Central (JR東海)
สถานีคาเมะซากิ Kamezaki Station (亀崎駅)
สถานีคาเมะซากิ. (Image credit: JR Central)
ที่เมืองฮันดะ(半田市 Handa-shi) ในจังหวัดไอจิ(愛知県 Aichi-ken) เป็นที่ตั้งของสถานีคาเมะซากิ ซึ่งว่ากันว่าเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแกที่สุดในญี่ปุ่นทั้งยังคงเปิดใช้งานอยู่ โดยเปิดใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปี 1886 แม้ว่าจะมีเหตุการเพลิงไหม้ในช่วงปี 1895 แต่ไม่แน่นอนว่าได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างและตัวอาคาร
สถานีรถไฟแห่งนี้ได้ถูกใช้งานสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า แต่ภายหลังได้หยุดการใช้งานไปในปี 1975. มีการสร้างสะพานลอยสำหรับใช้เดินข้ามทางรถไฟ ไว้ที่สถานีในปี 2014 จึงสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ ระหว่างอาคารโบราณของสถานีกับตัวสะพานข้ามแบบสมัยใหม่
④ พื้นที่ JR West (JR西日本)
ตึกเก่าสถานีนากาฮะมา Former Nagahama Station (旧長浜駅)
บริเวณหน้าทางเข้าตึกเก่าสถานีรถไฟนากามาฮะ. (เครดิต: photoAC)
หากว่าคุณต้องการที่จะได้เห็นสถานีรถไฟที่คงความเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นแล้วหละก็ให้ลองไปที่ทางตะวันตกของญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองที่มีชื่อว่านากามาฮะ (長浜市 Nagahama-shi)ในจังหวัดชิงะ(滋賀県 Shiga-ken) เมืองนี้เป็นที่ตั้งของตึกเก่าสถานีนากาฮะมา ที่ถูกสร้างขึ้นมาในปี 1882 และได้ชื่อว่าเป็นอาคารสถานีที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างในประเทศญี่ปุ่น
ตัวสถานีรถไฟถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างเมืองนากามาฮะและเมืองสึรุกะ(敦賀)ในจังหวัดฟุคุอิ(福井県 Fukui-ken) ในครั้งที่ตัวอาคารสถานี 2 ชั้นถูกสร้างขึ้นในปี1903 และได้ใช้งานเป็นอาคารคลังสินค้า ต่อมาในปี 1953 ได้ปรับเปลี่ยนมาให้กลายเป็นอนุสรณ์สถานเกี่ยวกับรถไฟ และท้ายที่สุดในปี 2000 ได้รับการเปิดตัวอีกครั้งในชื่อว่า จตุรัสรถไฟนากามาฮะ(長浜鉄道スクエア Nagahama-tetsudō-sukuea)ที่ที่นักท่องเที่ยวจะได้ชมสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคารและเพลิดเพลินกับนิทรรศการต่างๆ อย่างเช่น หัวรถจักรไอน้ำและรถไฟจำลองที่ยาวที่สุดในญี่ปุ่นโดยที่ความยาวอยู่ที่66เมตรเป็นต้น
สถานฮากิ Hagi Station (萩駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีฮากิ. (Image credit: photoAC)
สถานีฮากิอยู่ที่เมืองฮากิในจังหวัดยามากุจิ(山口県 Yamaguchi-ken) ตัวอาคารสถานีสีฟ้าอ่อนที่ดูแปลกตานี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1925 โดยที่ครึ่งหนึ่งของสถานีทางฝั่งตะวันตกเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์สำหรับการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเมืองฮากิ ตัวอาคารสถานีได้รับถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียนในปี1996
สถานีนิชิอิวาคุนิ Nishiiwakuni Station (西岩国駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีนิชิอิวาคุนิ. (เครดิตรูปภาพ: photoAC)
อีกหนึ่งสถานีรถไฟในจังหวัดยามากุจิที่มีอาคารที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์คือที่สถานีนิชิอิวาคุนิ อาคารนี้ถูกขึ้นในปี 1929 และมีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับความโค้งของตัวอาคารที่มีความคล้ายคลึงกับสะพานคินไตเคียว(錦帯橋)สะพานโค้งที่โดดเด่นสะดุดตาของเมืองอิวาคุนิ(岩国市 Iwakuni-shi).
⑤ พื้นที่ JR Shikoku (JR四国)
สถานีโคโตฮิระ Kotohira Station (琴平駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีโคโตฮิระ. (Image credit: JR Shikoku)
สถานีต่อไปเราจะไปต่อกันที่เกาะแห่งหนึ่งในพื้นที่ชิโกกุ(四国) ที่ที่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีสถานีรถไฟเกิดขึ้นมา สถานีรถไฟโคโตฮิระอยู่ในจังหวัด คางาวะ(香川県 Kagawa-ken) บนทางรถไฟสายโดเซน(土讃線 Dosan-sen)ซึ่งดำเนินงานโดย JR Shikoku แม้ว่าตัวสถานีจะมีการเปิดตัวครั้งแรกใน1889 - ทำให้เป็นหนึ่งในสถานีที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น - ก็ตามแต่ว่าตัวอาคารหลักถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 1936 และ ยังมีการปรับปรุงซ่อมแซมในปี 2017
ตัวอาคารได้รับการยอมรับให้เป็นมรดกทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น(近代化産業遺産 Kindaika-sangyō-isan) โดยกระทรวงเศรษฐกิจ,การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ในปี 2009 และได้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2012
⑥ พื้นที่ JR Kyushu (JR九州)
สถานีคาเรอิกาวะ Kareigawa Station (嘉例川駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีคาเรอิกาวะ. (Image credit: JR Kyushu)
จุดหมายต่อไปคือที่พื้นที่ทางตอนใต้ของภูมิภาคคิวชู(九州) ที่ซึ่งมีสถานีรถไฟพื้นบ้านแบบดั้งเดิมตั้งอยู่ สถานีคาเรอิกาวะอยู่ที่จังหวัดคาโกชิมะ(鹿児島県 Kagoshima-ken)ทางด้านทิศใต้ของญี่ปุ่นและดำเนินงานบนเส้นทางสายฮิซัทสึ(肥薩線 Hisatsu-sen)โดย JR คิวชู มีการเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 1903 ตัวสถานีมีงานฉลองครอบรอบ 100 ปีไปในปี 2003 และได้รับการกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2006
(เพิ่มเติม: ฉันได้เขียนบทความเรื่องที่ว่าสถานีนี้มีอาหารกล่องที่ขึ้นชื่อในญี่ป่นได้อย่างไรไว้ - ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่)
สถานีโอสุมิโยโคกาวะ Ōsumi-Yokogawa Station (大隅横川駅)
ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ขึ้นทะเบียน (登録有形文化財)
สถานีโอสุมิโยโคกาวะ. (Image credit: JR Kyushu)
อีกหนึ่งสถานีรถไฟในจังหวัดคาโกชิมะที่มีเสน่ห์ของชนบทและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถานีโอสุมิโยโคกาวะถูกสร้างขึ้นในปีเดียวกันกับสถานีคาเรอิกาวะในปี 1903 และตัวอาคารยังคงรูปแบบเดิมมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนที่นี่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสารและขนส่งสินค้าจนต่อมาได้หยุดให้บริการไปในปี 1971 ต่อมาในปี 2007 ตัวสถานีได้รับการคัดเลือกโดยกระทรวงเศรษฐกิจ,การค้าและอุตสาหกรรม ( METI)ให้เป็นมรดกทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่สำหรับพื้นที่คิวชูทางตอนใต้
ยังมีสถานีรถไฟประวัติศาสตร์อื่นอีกที่ได้รับการยกย่องในญี่ปุ่นอีกเช่นกันตามข้อมูลต่อไปนี้
สถานที่ที่แนะนำพิเศษ
สถานียูโนะ-คามิออนเซน Yunokami-Onsen Station (湯野上温泉駅)
สถานียูโนะคามิ-ออนเซน. (เครดิตรูปภาพ: JR East)
สถานียูโนะคามิ-ออนเซน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านชนบทของเมืองชิโมโก(下郷町 Shimogō-machi)จังหวัดฟุกุชิมะ(福島県 Fukushima-ken) นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาที่นี้ได้ผ่านทางรถไฟไอสุสายไอสุ (会津鉄道会津線 Aizu Tetsudō Aizu-sen) และเมื่อมาถึงก็จะได้พบกับสถานีรถไฟที่มีรูปทรงคล้ายกับบ้านในชนบท
สถานียูโนะคามิ-ออนเซนในฤดูใบไม้ร่วง. (เครดิตรูปภาพ: KrobkruengJAPAN)
สิ่งที่ไม่เหมือนกับสถานีรถไฟอื่นคือ ตัวอาคารสถานีของที่นี่จะมีหลังคามุงจากและเตาผิงเปิดแบบญี่ปุ่น(囲炉裏 irori)ที่อยู่ในห้องรอรถไฟ ตัวอาคารสร้างแล้วเสร็จในปี 1987 โดยมีการซ่อมแซมและมุงหลังคาใหม่อีกครั้งในปี 2005 ตัวสถานีถูกออกแบบมาเพื่อช่วยส่งเสริมภาพภูมิทัศน์ของโออุจิจูคุ(大内宿) ซึ่งเป็นเมืองท่าเก่าแก่ในอดีตที่อยู่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
สถานีกุโจฮาจิมัง Gujō-Hachiman Station (郡上八幡駅)
สถานีกุโจฮาจิมัง. (เครดิตรูปภาพ: JR Central/Yazawa)
พื้นที่ท่ามกลางขุนเขาในจังหวัดกิฟุ (岐阜県 Gifu-ken) มีสถานีรถไฟที่มีเสน่ห์ทางด้านประวัติศาสตร์ คือ สถานีกุโจฮาจิมังถูกสร้างขึ้นมาในปี 1929 และตัวอาคารหลักที่อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ก็ได้มีการซ่อมแซมในปี 2017 ในปัจจุบันได้ให้บริการรถไฟในเส้นทางสายอิซึมิ-นัน(越美南線 Etsumi-Nansen) โดยบริษัทรถไฟนาการะกาวะ (長良川鉄道 Nagaragawa Tetsudō).
สถานีอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขึ้นเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้เมื่อปี 2017 นอกจากนี้ยังมีมีห้องนิทรรศการที่ชื่อว่า Furusato no Tetsudō-kan (ふるさとの鉄道館) ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของเส้นทางรถไฟสายอิซึมิ-นันรวมถึงมีการจัดแสดงเครื่องมือต่างๆที่ถูกใช้งานในเส้นทางสายนี้
สถานีคานาซาวะ Kanazawa Station (金沢駅)
ประตูสึซึมิ ที่สถานีคานาซาวะ. (Image credit: JR East/Carissa Loh)
ที่จังหวัดอิชิคะวะ(石川県 Ishikawa-ken) มีสถานีรถไฟทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความยอดเยี่ยมทางด้านสถาปัตยกรรม สถานีคานาซาวะเป็นสถานีรถไฟหลักที่ดำเนินงานโดย JRWest เส้นทางรถไฟสายโฮคุริคุ(北陸鉄道 Hokuriku Tetsudō) และเส้นทางรถไฟสายIR อิชิคะวะ(IRいしかわ鉄道株式会社 IR Ishikawa Tetsudō Kabushiki-gaisha) และมีการเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 1898
อาคารสถานีที่สร้างใหม่มีลักษณะที่โดดเด่น 2 อย่าง คือ หนึ่งในส่วนของประตูทางด้านทิศตะวันออกจะมีซุ้มประตูไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ โดยที่ประตูไม้นี้จะมีรูปทรงเหมือนกับกลองสึซึมิ(鼓)หรือกลองพื้นบ้านของญี่ปุ่นและด้วยเหตุนี้ประตูทางด้านทิศตะวันออกมักจะถูกเรียกว่าประตูสึซึมิ(鼓門 Tsuzumi-mon).
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของที่นี้คือโดมโมเตะเนชิ สิ่งที่แสดงถึงความยินดีที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มายังสถานีนี้ คานาซาวะขึ้นชื่อว่าเป็นที่ที่มีฝนและหิมะหนักและตัวโดมเปรียบได้กับการแสดงออกของคนในท้องที่ที่จะต้อนรับผู้คนที่มาด้วยพื้นที่โล่ง สว่างไสว และปลอดฝน ที่ทำมาจากแผ่นกระจกกว่า3,000 แผ่น โดยที่ทั้งประตูสึซึมิและโดมโมเตะเนชิถูกสร้างขึ้นพร้อมกันในปี 2005 ในแผนงานส่วนขยายของโฮคุริคิชินคังเซน(北陸新幹線)ที่มายังที่สถานี ตัวสถานีมีการฉลองครบรอบ 110 ปีไปในปี2008
สถานีคารุอิซาวะ Karuizawa Station (軽井沢駅)
สถานีคารุอิซาวะ. (เครดิตรูปภาพ: JR EAST/Nakazawa)
สถานีคารุอิซาวะ เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ในอดีตมีผู้โดยสารที่เดินทางจากที่นี่ไปยังเมืองโยโกกาวะผ่านทางสันเขาอุซุอิ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อของเส้นทางระหว่างเมืองทาคาซากิ(高崎) และเมืองนาโอเอ็ตซึ(直江津) ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นเส้นทางเส้นชินเอ็ตซึ(信越本線 Shin’etsu-honsen) อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปิดตัวของรถไฟนางะโนะชินคังเซน(長野新幹線, หรือปัจจุบันคือโฮคุริคุชินคังเซน(北陸新幹線))ในปี1997 เส้นทางสันเขาอุซุอิก็ได้ถูกปิดตัวลงอย่างถาวร รวมถึงทำให้เส้นทางระหว่างคารุอิซาวะและโยโกกาวะด้วยเช่นกัน พระจักรพรรดิและจักรพรรดินีญี่ปุ่นองค์ก่อนในอดีตก็เคยมาเยี่ยมเยียนที่คารุอิซาวะทุกๆ ฤดูร้อนในช่วงที่สถานีเปิดใช้งาน จนกระทั่งมีรถไฟชินคังเซนเข้ามายังเมือง
(NOTE: ถ้าต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความก่อนหน้านี้ ที่นี่ และ ที่นี่!)
การเดินทางด้วยรถไฟในญี่ปุ่น เป็นการเดินทางที่ไม่ควรพลาด สำหรับนักท่องเที่ยวคนใดก็ตาม และเส้นทางรถไฟเหล่านี้ยังนำเราไปพบกันสถานีที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป ลองวางเส้นทางท่องเที่ยวและออกค้นหาสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น และย้อนเวลากลับไปในช่วงเวลาที่เห็นตัวอาคารสถานีรถไฟเหล่านั้นที่ยังมีอยู่มาจนถึงวันนี้
(ข้อมูลเพิ่มเติม: หากว่าคุณวางแผนจะออกตามหาสถานีรถไฟย้อนยุคต่างๆที่ได้กล่าวมาในทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นอยู่นั้น สิ่งที่จะช่วยคุณได้มากในการเดินทางครั้งนี้คือ JR EAST PASS!)
JR EAST PASS (Tohoku area)
รูปแบบใหม่ของ JR EAST PASS (Tohoku area) และเงื่อนไขการใช้งาน (เครดิตรูปภาพ: JR East)
บัตรโดยสาร JR EAST PASS (Tohoku area) ซึ่งเป็นบัตรโดยสารราคาประหยัดที่ให้บริการรถไฟ JR สายตะวันออกได้ไม่จำกัด (รวมถึงรถไฟชินคันเซน) ในพื้นที่ ได้เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ราคาเพียง 20,000 เยนเท่านั้น ทำให้เป็นทางเลือกสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาภายในพื้นที่ ผู้ที่ถือบัตรนี้ยังสามารถจองที่นั่งล่วงหน้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 เดือนก่อนเดินทาง
หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้งานและราคาของ JR EAST PASS (พื้นที่ Tohoku) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบ ที่นี่
JR EAST PASS (Nagano, Niigata area)
รูปแบบใหม่ของ JR EAST PASS (Nagano, Niigata area)และเงื่อนไขการใช้งาน (เครดิตรูปภาพ: JR East)
บัตรโดยสาร JR EAST PASS (Nagano, Niigata area) ซึ่งเป็นบัตรโดยสารราคาประหยัดที่ให้บริการรถไฟ JR สายตะวันออกได้ไม่จำกัด (รวมถึงรถไฟชินคันเซน) ในพื้นที่ ได้เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ราคาเพียง 18,000 เยนเท่านั้น ทำให้เป็นทางเลือกสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาภายในพื้นที่ ผู้ที่ถือบัตรนี้ยังสามารถจองที่นั่งล่วงหน้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 เดือนก่อนเดินทาง
หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้งานและราคาของ JR EAST PASS (พื้นที่ Nagano, Niigata) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบ ที่นี่
เครดิตรูปภาพส่วนหัวบทความ: JR East